ข้อควรระวัง จากว่านหางจระเข้และผลข้างเคียง

ข้อควรระวัง จากว่านหางจระเข้และผลข้างเคียง

ในบทความนี้จะพูดถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นและข้อควรระวัง จากว่านหางจระเข้พืชอวบน้ำที่ใช้เป็นยาสมุนไพรมานานหลายศตวรรษ ที่รู้จักกันทั่วไปในการรักษาผิวไหม้แดด ว่านหางจระเข้มีประโยชน์สำหรับ แผลไฟไหม้หรือโดนของร้อนลวก บาดแผลเล็กน้อย และช่วยบำรุงผิว

ต้นว่านหางจระเข้มีใบยาวเป็นรูปสามเหลี่ยมหนาขอบหยักและปลูกง่ายที่บ้าน ชั้นนอกเป็นเปลือก ชั้นใต้เปลือกเป็นน้ำยางสีเหลืองมีรสขม และตรงส่วนกลางเป็นเจลใสซึ่งสามารถทาลงบนผิวหนังได้โดยตรงได้

ว่านหางจระเข้ ปลูกไว้รอบๆ บ้าน

ผลข้างเคียงของว่านหางจระเข้คืออะไร

นอกจากเราจะทราบถึงประโยชน์ของว่านหางจระเข้แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ควรนึกถึงคือ ผลข้างเคียงและข้อควรระวัง จากว่านหางจระเข้ซึ่งมีความเสี่ยงของผลข้างเคียงอาจแตกต่างกันไปตามรูปแบบการใช้งาน

ตัวอย่างเช่น เจลว่านหางจระเข้มีความสัมพันธ์กับอาการไม่พึงประสงค์น้อยกว่าสารสกัดจากใบว่านหางจระเข้และน้ำยางจากว่านหางจระเข้ เจลมีความเกี่ยวข้องกับความรู้สึกไม่สบายผิว ความเจ็บปวด และโรคผิวหนังในบางคน โดยรวมแล้วอาการไม่พึงประสงค์จากเจลว่านหางจระเข้นั้นพบได้ไม่บ่อยและไม่รุนแรง

เจลว่านหางจระเข้ นำมาใช้ได้โดยตรงทั้งกินและใช้ทา

ผลข้างเคียงที่พบบ่อย

  • ท้องเสีย
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • อาการปวดท้อง

ผลข้างเคียงที่รุนแรง

  • อาการแพ้: เมื่อทาลงบนผิวหนังหรือบริโภคทางปาก ว่านหางจระเข้อาจทำให้เกิดผดผื่น ลมพิษ ตะคริว และท้องร่วง(1)
  • โรคตับอักเสบ: ความเสียหายต่อตับมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นเมื่อเสริมว่านหางจระเข้ในปริมาณมาก ไม่ทราบจำนวนและระยะเวลาที่แน่นอนในการทำให้เกิดผล และมีแนวโน้มว่าจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม อย่างน้อย 500 มิลลิกรัมทุกๆ สองถึงสามวันมีความเกี่ยวข้องกับโรคตับอักเสบ(2)
  • อาการบาดเจ็บที่ไต: ปริมาณและระยะเวลาที่ได้รับสารสกัดว่านหางจระเข้และน้ำยาง ทำให้เกิดความเสียหายต่อไตเช่นกัน การใช้น้ำยางว่านหางจระเข้เป็นเวลานานกว่า 1 กรัมต่อวันเป็นเวลานานอาจส่งผลให้ไตวายเฉียบพลันได้(3)
  • ความเสี่ยงต่อมะเร็งที่เป็นไปได้: มีความกังวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างยาระบายที่มีแอนทราควิโนน (เช่น ว่านหางจระเข้) กับมะเร็งลำไส้ใหญ่มานานแล้ว งานวิจัยเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการทบทวนจากนักวิจัยพบว่าการศึกษามีคุณภาพจำกัด และไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่ามีความเกี่ยวข้องกันระหว่างยาระบายแอนทราควิโนนกับมะเร็งลำไส้ใหญ่(4)

ข้อควรระวัง จากว่านหางจระเข้ควรรู้

การใช้สารสกัดว่านหางจระเข้ทั้งใบหรือน้ำยาง อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มเติมเฉพาะกับบุคคลบางกลุ่มได้แก่

  • สตรีตั้งครรภ์: ควรหลีกเลี่ยงยาระบายกระตุ้น เช่น น้ำยางว่านหางจระเข้และสารสกัดจากว่านหางจระเข้ทั้งใบที่ไม่เปลี่ยนสี ในระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากมีความกังวลว่าอาจกระตุ้นการหดตัวของมดลูก(5) สิ่งนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งบุตรหรือการคลอดก่อนกำหนด
  • เลี้ยงลูกด้วยนมแม่: ควรหลีกเลี่ยงน้ำยางว่านหางจระเข้และสารสกัดจากว่านหางจระเข้ทั้งใบ เมื่อให้นมลูก มีงานวิจัยเรื่องนี้เพียงเล็กน้อย แต่สารประกอบจากว่านหางจระเข้จะถูกถ่ายโอนไปยังน้ำนมแม่(6) ซึ่งอาจส่งผลเสียเช่นท้องเสียในลูกน้อยของคุณ(7)

ปฏิสัมพันธ์กับยา

ว่านหางจระเข้อาจมีปฏิกิริยากับยาบางชนิด ซึ่งหมายความว่าอาจมีผลตรงกันข้ามกับยาที่คุณใช้อยู่แล้ว หรืออาจส่งผลให้เกิดผลกระทบโดยรวมมากขึ้น สิ่งนี้สามารถนำไปสู่ปัญหากับผลข้างเคียงต่อร่างกาย

  • ยารักษาโรคเบาหวานรวมทั้งอินซูลิน: เจลว่านหางจระเข้สามารถลดน้ำตาลในเลือด(8) หากทานยาลดน้ำตาลในเลือดอยู่แล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณอาจต่ำเกินไป
  • ยาระบาย: เนื่องจากน้ำยางว่านหางจระเข้และสารสกัดจากใบ ทำหน้าที่เป็นยาระบาย(9) การรับประทานร่วมกับยาระบายอื่นๆ อาจทำให้ท้องเสียได้ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำและความผิดปกติของอิเล็กโทรไลต์
  • ยาขับปัสสาวะ เช่น ฟูโรซีไมด์ (Furosemide): ฤทธิ์เป็นยาระบายของน้ำยางว่านหางจระเข้และสารสกัดจากใบ ส่งผลให้สูญเสียโพแทสเซียมในปัสสาวะนอกเหนือจากน้ำ(10) ยาขับปัสสาวะและผลิตภัณฑ์จากว่านหางจระเข้บางชนิด อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำและระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ
  • ยารักษาจังหวะการเต้นของหัวใจ เช่นยา ไดจอกซิน (Digoxin): เนื่องจากน้ำยางจากว่านหางจระเข้และสารสกัดทั้งใบเพิ่มความเสี่ยทำให้ระดับโพแทสเซียมต่ำ(11) ดังนั้นการใช้ว่านหางจระเข้และยารักษาจังหวะการเต้นของหัวใจร่วมกันอาจส่งผลให้แร่ธาตุสำคัญนี้อยู่ในระดับต่ำอย่างเป็นอันตราย
  • สารต้านการแข็งตัวของเลือด (เช่น แอสไพริน วาร์ฟาริน และอีนอกซาพาริน): การวิจัยพบว่าว่านหางจระเข้สามารถทำหน้าที่คล้ายกับสารต้านการแข็งตัวของเลือดหรือทินเนอร์เลือด(12) ซึ่งจะลดความสามารถในการจับตัวเป็นลิ่มของเลือด การใช้ว่านหางจระเข้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือดอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือดได้

บทส่งท้าย

ว่านหางจระเข้นำมาใช้เพื่อรักษาโรคมานานหลายศตวรรษ ปัจจุบันยังคงใช้เป็นทางเลือกในทางการแพทย์ แต่งานวิจัยที่สนับสนุนประโยชน์ต่อสุขภาพยังมีอยู่อย่างจำกัด การใช้งานที่พบบ่อยที่สุดคือ การใช้กับผิวหนังเพื่อช่วยในการรักษาแผลไฟไหม้นํ้าร้อนลวก และบาดแผลถลอกเล็กน้อย

KIGKOK
Logo