สารเหนียวคล้ายนํ้ามันดิน หรือ ทาร์ (อังกฤษ: Tar) สารสมุนไพรนี้คือ ชิลาจิต (Shilajit) ที่พบในโขดหินของเทือกเขาหิมาลัย ถูกทับถมมานานหลายศตวรรษจากการสลายตัวของพืชอย่างช้าๆ เป็นสารธรรมชาติที่มีอายุเก่าแก่ที่ช่วยฟื้นคืนความกระปรี้กระเปร่าเพื่อเพิ่มพลังงานและความมีชีวิตชีวา ใช้ในการรักษาโรคแบบอายุรเวท ซึ่งเป็นวิธีการป้องกันและรักษาโรคที่มีอายุกว่า 5,000 ปี มีต้นกำเนิดในอินเดีย
หัวข้อน่าสนใจ
Toggleชิลาจิตคืออะไร
ศิลาจิต เป็นภาษาสันสกฤตหมายถึง “ผู้พิชิตภูเขา” หรือ “ผู้ทำลายความอ่อนแอ”(1) ในยุคปัจจุบัน เซอร์มาร์ติน เอ็ดเวิร์ด สแตนลีย์ นักสำรวจชาวอังกฤษในระหว่างการสำรวจไปยังเทือกเขาหิมาลัย ในปี ค.ศ. 1870 (พ.ศ. 2413) สังเกตพบว่าลิงบนที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาจะแก่ลงเมื่ออายุได้ 10 ขวบ ในขณะลิงที่อยู่บนที่สูงยังคงใช้ชีวิตอย่างกระฉับกระเฉงและคล่องแคล่วแม้ในวัยชรา เขาสังเกตเห็นว่าลิงที่อยู่บนภูเขากำลังกินหินที่เหมือนวัสถุหลอมละลายซึ่งไหลออกมาจากรอยแยกของหิน เมื่อน้ำแข็งที่ปกคลุมละลายในช่วงฤดูร้อน(2) คนในท้องถิ่นเรียกสารนี้ว่า ศิลาจิต และคุณสมบัติการรักษาเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่พวกเขามาช้านาน ชาวบ้านจึงเริ่มบริโภคอินทรียวัตถุนี้ พวกเขาใช้เวลาไม่นานในการตระหนักถึงพลังการรักษาอันน่าทึ่งของทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต เช่นเดียวกับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูกที่เพิ่มขึ้น และศักยภาพในการมีอายุยืนยาวขึ้น
พืชในเทือกเขาหิมาลัยนั้นมีความอุดมสมบูรณ์และหลากหลาย เป็นเวลาหลายพันปีที่พืชยังมีชีวิตดูดซึมสารอาหารจากดินและตายไป นี่เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นซํ้าแล้วซํ้าเล่าอีกนับไม่ถ้วน และต่อเนื่องมานับพันปี เป็นที่เชื่อกันว่าชิลาจิตพบในเทือกเขาหิมาลัยเป็นรูปแบบฟอสซิลของพืชเหล่านั้น และชีวมณฑลเฉพาะของเทือกเขาหิมาลัยได้สร้างสารสมุนไพรนี้ขึ้นมา
ประโยชน์ของชิลาจิต
1. ให้พลังงานและฟื้นฟูร่างกาย
อาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง (อังกฤษ: Chronic fatigue syndrome: CFS) เป็นภาวะระยะยาวที่ทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้าหรืออ่อนล้าอย่างรุนแรง ทำให้การไปทำงานหรือไปโรงเรียนได้ลำบาก แม้แต่กิจกรรมง่ายๆ ในชีวิตประจำวันก็ทำได้ยาก นักวิจัยคิดว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากชิลาจิต อาจลดอาการเหนื่อยล้าเรื้อรังและฟื้นฟูพลังงานได้
อาการเหนื่อยล้าเรื้อรังมีความเกี่ยวข้องกับความผิดไมโทคอนเดรีย สิ่งนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ผลิตพลังงานไม่เพียงพอ สิ่งหนึ่งที่ชิลาจิตช่วยให้ร่างกายมีพลังงานคือ การเพิ่มการทำงานของไมโตคอนเดรียภายในร่างกาย
ไมโตคอนเดรียเป็นออร์แกเนลล์ที่ทำหน้าที่เป็น “แหล่งพลังงาน” ของเซลล์ในร่างกาย โดยเปลี่ยนออกซิเจนและสารอาหารไปเป็นอะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (อังกฤษ: Adenosine triphosphate: ATP) ซึ่งเป็นสารที่ให้พลังงานแก่เซลล์ในร่างกาย ชิลาจิตกระตุ้นการทำงานของไมโตคอนเดรีย ช่วยให้ออกซิเจนมีประสิทธิภาพมากขึ้น(3) ไม่เพียงแต่ช่วยการทำงานของไมโตคอนเดรียด้วยตัวมันเอง แต่ยังพบว่าสร้างผลกระทบอันทรงพลังต่อการสร้างออกซิเจนในไมโตคอนเดรียเมื่อรวมกับเสริมโคคิวเท็น (CoQ10) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบตามธรรมชาติในเซลล์ของมนุษย์ทั้งหมด(4)
นอกจากประสิทธิภาพของไมโตคอนเดรียแล้ว สารสมุนไพรนี้ยังช่วยฟื้นฟูร่างกายด้วยคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่แข็งแกร่ง การต่อสู้กับอนุมูลอิสระที่ก่อให้เกิดโรคจะซ่อมแซมความเสียหายภายในร่างกายที่เกิดจากสารเคมีและสารอันตรายอื่นๆ ที่เราสัมผัสและช่วยลดระดับไขมันในเลือด(5)
2. โรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคทางสมอง โดยพบได้มากขึ้นตามอายุทำให้เกิดปัญหาด้านความจำ พฤติกรรม และการคิด มีการรักษาด้วยยาเพื่อปรับปรุงอาการของโรคอัลไซเมอร์ แต่จากองค์ประกอบโมเลกุลของชิลาจิต นักวิจัยบางคนเชื่อว่าชิลาจิตช่วยป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้(6)
ส่วนประกอบหลักของชิลาจิต เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่ากรดฟุลวิค (Fulvic acid) สารต้านอนุมูลอิสระอันทรงพลังนี้มีส่วนช่วยเสริมสร้างสุขภาพของสมอง โดยป้องกันการสะสมของเทาว์โปรตีน (Tau protein) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของระบบประสาท แต่การสะสมตัวของเทาว์โปรตีนอาจทำให้เซลล์สมองเสียหายได้
นักวิจัยคิดว่ากรดฟุลวิคในชิลาจิตอาจหยุดการก่อตัวผิดปกติของเทาว์โปรตีนและลดการอักเสบ ซึ่งอาจช่วยให้อาการของโรคอัลไซเมอร์ดีขึ้นได้
3. ควบคุมฮอร์โมนและระบบภูมิคุ้มกัน
หน้าที่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของชิลาจิต คือควบคุมระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระบบภูมิคุ้มกันและความสมดุลของฮอร์โมน นักวิจัยหลายคนยอมรับว่าสารสมุนไพรนี้ส่งผลกระทบต่อร่างกายมาก เพราะช่วยให้ระบบเหล่านี้อยู่ในสมดุล(7)
โดยเฉพาะอย่างยิ่งชิลาจิต ส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมนการเจริญพันธุ์ ในผู้ชายที่มีสุขภาพดี การเสริมจะเพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในเลือดและกระตุ้นการผลิตสเปิร์ม(8) เมื่อทดสอบในการศึกษาในหนูทดลอง พบว่ามีการตกไข่ในหนูเพศเมียที่โตเต็มวัยด้วย ซึ่งบ่งชี้ว่าผงชิลาจิตอาจเป็นตัวเลือกในการพิจารณาสำหรับผู้ที่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก(9)
4. ชะลอความแก่
เนื่องจากชิลาจิตอุดมไปด้วยกรดฟุลวิค สารต้านอนุมูลอิสระที่แข็งแกร่งและต้านการอักเสบ จึงอาจป้องกันอนุมูลอิสระและความเสียหายของเซลล์ได้หากใช้ชิลาจิตเป็นประจำ เพื่ออายุยืนทำให้กระบวนการชราช้าลงและสุขภาพโดยรวมที่ดีขึ้น(10)
5. โรคจากการขึ้นที่สูง
ระดับความสูงที่สูงขึ้นอาจทำให้เกิดอาการต่างๆ ได้แก่
- ปอดบวมน้ำ
- นอนไม่หลับ
- เซื่องซึมหรือรู้สึกเหนื่อย
- ปวดตามร่างกาย
- ภาวะสมองเสื่อม
- ขาดออกซิเจน
ความเจ็บป่วยจากระดับความสูงสามารถเกิดขึ้นได้จากความกดอากาศต่ำ อุณหภูมิที่เย็นจัด หรือความเร็วลมสูง นักวิจัยคิดว่าชิลาจิตอาจช่วยให้เอาชนะปัญหาระดับความสูงนี้ได้
ชิลาจิตมีกรดฟุลวิคและแร่ธาตุมากกว่า 84 ชนิด(11) ดังนั้นจึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก สามารถทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในการปรับปรุงภูมิคุ้มกันของร่างกายและหน่วยความจำ ต้านการอักเสบ เพิ่มพลังงาน และยาขับปัสสาวะ เพื่อเอาของเหลวส่วนเกินออกจากร่างกาย เนื่องจากประโยชน์เหล่านี้ ชิลาจิตจึงช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระดับความสูงได้
6. โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กอาจเป็นผลมาจากอาหารที่มีธาตุเหล็กต่ำ การสูญเสียเลือด หรือการไม่สามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้ อาการรวมถึงดังนี้
- อาการอ่อนเพลีย
- อาการอ่อนแรง
- มือเท้าเย็น
- ปวดหัว
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
อย่างไรก็ตามสารสมุนไพรชิลาจิตอาจค่อยๆ เพิ่มระดับธาตุเหล็ก ในการศึกษาแบ่งหนู 18 ตัวออกเป็นสามกลุ่มละหก นักวิจัยทำให้เกิดภาวะโลหิตจางในกลุ่มที่สองและสาม หนูในกลุ่มที่สามได้รับชิลาจิต 500 มก. หลังจาก 11 วัน นักวิจัยเก็บตัวอย่างเลือดจากทุกกลุ่มในวันที่ 21 ผลการวิจัยพบว่าหนูในกลุ่มที่ 3 มีระดับฮีโมโกลบิน ฮีมาโตคริต และเม็ดเลือดแดงสูงกว่าหนูในกลุ่มที่สอง(12) สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญของเลือด
7. ต่อสู้กับการอักเสบและไวรัส
อาหารที่เรากินเข้าไปนอกจากจะมีสารอาหารแล้วยังช่วยต่อสู้กับการอักเสบที่ก่อให้เกิดโรค ในงานวิจัยพบว่าการใช้ชิลาจิต มีประสิทธิภาพในการรักษาและป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร อีกทั้งลดการอักเสบที่เกี่ยวข้อง(13)
8. เสริมสร้างสุขภาพของกระดูก
ชิลาจิตอาจปรับปรุงส่งเสริมสุขภาพของกระดูก มีหลักฐานเบื้องต้นว่าช่วยปกป้องและชะลอกระบวนการของโรคกระดูกพรุน (14)
ผลข้างเคียงของชิลาจิต
แม้ว่าชิลาจิตสารสมุนไพรนี้จะเป็นธรรมชาติและปลอดภัย แต่ไม่ควรบริโภคชิลาจิตดิบหรือยังไม่แปรรูป ชิลาจิตดิบอาจมีไอออนของโลหะหนัก อนุมูลอิสระ เชื้อรา และสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ ที่ทำให้ป่วยได้ ไม่ว่าจะซื้อทางออนไลน์หรือจากร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าชิลาจิตถูกทำให้บริสุทธิ์และพร้อมใช้งาน
อย่าใช้ชิลาจิตถ้าหากเป็น โรคโลหิตจางรูปเคียว (อังกฤษ: Sickle-cell disease (SCD)) ภาวะเหล็กเกิน (Iron overload หรือ Hemochromatosis) หรือธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นไปได้ที่จะแพ้สารสมุนไพรตัวนี้ ควรหยุดใช้ชิลาจิตหากมีอาการผื่นขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น หรือเวียนศีรษะ
บทส่งท้าย
ชิลาจิตมาจากรอยแยกบนภูเขาในเทือกเขาหิมาลัยและทิเบต มีลักษณะคล้ายกับน้ำมันดิน ซึ่งมีสีตั้งแต่สีน้ำตาลอมเหลืองไปจนถึงสีดำ มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากสนับสนุนการใช้เป็นสารส่งเสริมร่างกาย พบว่ามีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการเมื่อยล้า ส่งเสริมสุขภาพสมอง เสริมภูมิคุ้มกัน บรรเทาอาการปวด จัดการโรคเบาหวาน ปกป้องจากมะเร็งบางชนิด ป้องกันการอักเสบและการติดเชื้อไวรัส
Tags: พืชสมุนไพร